วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประวัติผู้จัดทำ

ประวัติผู้จัดทำ




ชื่อ : นางสาวปิยมาศ  คลังเเก้ว

ชื่อเล่น :  เเป้ง

ชั้น :  ม.4/4

เลขที่  : 31

วันเกิด  : 20 ตุลาคม 2541

กรุ๊ปเลือด :  A











การจัดการวางแผนการทำงานภายในบ้าน

 การจัดการวางแผนการทำงานภายในบ้าน

งานบ้าน  หมายถึง  กิจกรรมต่าง ๆ  ที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตประจำวันในการสร้างความสุขของสมาชิกทุกคนในบ้าน  ซึ่งต้องปฏิบัติเป็นประจำ  โดยอาศัยความร่วมมือ  ร่วมแรง  ร่วมใจของสมาชิก   ทุกคนในบ้าน
      ความสำคัญของครอบครัว ให้การศึกษา อบรมเลี้ยงดู ถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆและสร้างเสริมประสบการณ์ต่างๆ ให้กับสมาชิกที่อาศัยอยู่ร่วมกัน ตั้งแต่เกิดจนเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ให้ความรัก ความเมตตา การเอาใจใส่ ห่วงใย อาทร สร้างความเข้าใจ พยายามเข้าใจ และสร้างสมาชิกในครอบครัวให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สังคมต้องการ
ปัญหาครอบครัว
    ปัญหาครอบครัวหมายถึงปัญหาที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว  ได้แก่ปัญหาระหว่างสามีภรรยา ความขัดแย้งระหว่างพ่อกับแม่ พี่กับน้อง  พ่อกับลูกหรือแม่กับลูก  ปัญหาการติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกภายในครอบครัว  ปัญหาความสัมพันธ์  ความไม่เข้าใจกัน
อาการ
   ปัญหาในครอบครัวอาจแสดงอาการออกได้หลากหลายรูปแบบ เช่น บางคนมีความเครียด ปวดหัว ปวดท้องไม่ทราบสาเหตุ  หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า เบื่อหน่ายท้อแท้ชีวิต จนอาจถึงคิดอยากตาย  อาจมีการขัดแย้ง ทะเลาะเบาะแว้งกันบ่อยๆ  ปัญหาอาจลุกลามใหญ่โต หรือเรื้อรัง จนอาจทำให้สมาชิกครอบครัวเกิดอาการทางจิตเวช  หรือป่วยทางจิตเวชกันได้หลายคน เช่น โรคจิต โรคประสาท โรคซึมเศร้า โรคติดสารเสพติด โรคบุคลิกภาพแปรปรวน ดังนั้นการแก้ไขปัญหาครอบครัวตั้งแต่ต้น จึงช่วยป้องกันปัญหาทางจิตเวช และความเจ็บป่วยทางกายได้
การรักษา
การแก้ไขปัญหาครอบครัว สามารถให้การรักษาได้หลายระดับ  ตั้งแต่การให้คำปรึกษาครอบครัว  ไปจนถึงการรักษาแบบครอบครัวบำบัด  ซึ่งมีหลักการรักษา คือ สมาชิกครอบครัวทุกคนมีส่วนร่วมในการเข้าใจปัญหา  หาทางคลี่คลายหรือแก้ไขปัญหาร่วมกัน ช่วยกันปรับเปลี่ยนตนเอง โดยไม่ต้องรอให้อีกฝ่ายหนึ่งแก้ไขก่อน
  การรักษาวิธีนี้ แพทย์จะไม่ค้นหาตัวปัญหา หรือ คนผิด ไม่ตัดสินว่าใครผิดถูก  การช่วยกันปรับความสัมพันธ์ระหว่างกัน การวางตัวต่อกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจกัน บนพื้นฐานของความรัก ความอบอุ่นความห่วงใย ความปรารถนาดีต่อกัน
   ในกรณีที่ความขัดแย้งมีสะสมมานาน  การรักษาจะไม่ขุดคุ้ยความขัดแย้งเก่าๆขึ้นมาอีก  แต่จะวิเคราะห์เฉพาะปัญหาในปัจจุบัน หากลยุทธ หรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อคลี่คลายปัญหาหรือความขัดแย้ง สร้างคุณภาพชีวิตครอบครัวเพื่อให้ทุกคนมีความสุข
การป้องกัน
   ครอบครัวที่อบอุ่น เป็นภูมิต้านทานต่อความเจ็บป่วยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคทางกาย โรคทางจิต และ โรคติดสารเสพติด  การสร้างครอบครัวที่อบอุ่น ทำได้ดังนี้
1.มีการติดต่อสื่อสารที่ดี เมื่อมีคนพูด ควรมีคนรับฟัง พยายามทำความเข้าใจกัน บอกความต้องการด้วยความสงบ ไม่ต่อว่า ส่อเสียดคุกคามกัน ไม่ควรเริ่มต้นด้วยการตำหนิ ว่ากล่าว หรือจี้จุดอ่อนของอีกฝ่ายหนึ่ง
2. มีการเคารพสิทธิส่วนตัวของกันและกัน ในพื้นฐานของกติกาที่ดี ไม่มีการละเมิดสิทธิส่วนตัวซึ่งกันและกัน แต่ละคนอาจมีความคิดเห็นแตกต่างกันได้
3. พ่อแม่ควรมีความร่วมมือกันในการดูแลครอบครัว   การแก้ไขปัญหาต่างๆ และปัญหาพฤติกรรมเด็ก
4. การมีเวลาที่มีคุณภาพร่วมกัน แม้เวลาเพียงเล็กน้อย แต่คุณภาพที่ดีจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดี  เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาครอบครัวที่มีคุณภาพ
บทบาทและหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว
เมื่อเราอยู่ร่วมกันในครอบครัว ทุกคนต่างก็มีบทบาทหน้าที่ที่ต้องทำในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว เช่น หน้าที่ของพ่อแม่ที่มีต่อลูก หน้าที่ของลูกที่มีต่อพ่อแม่ หน้าที่ของพี่ที่มีต่อน้อง เป็นต้น


การจัดการวางแผนการทำงาน

การจัดการวางแผนการทำงาน


                ขั้นตอนและประโยชน์ของการวางแผนทำงานบ้านการวางแผนทำงานบ้าน คือ  การกำหนดแนวปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้า  ว่าจะทำอย่างไร  ทำเมื่อไร  ทำโดยวิธีใด  ใครเป็นผู้ทำและกำหนดงานเสร็จเมื่อไรขั้นตอนการวางแผนทำงานบ้าน 

             ก่อนทำงานบ้านควรวางแผนเป็นลำดับขั้นจะช่วยให้ทำงานได้สะดวก รวดเร็ว เรียบร้อยและมีคุณภาพ  ซึ่งมีขั้นตอนในการวางแผนทำงานบ้าน  ดังนี้ 
 1.  สำรวจและวิเคราะห์งาน  การเตรียมการก่อนทำงานบ้านรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงานบ้านทั้งหมดและจัดแบ่งประเภทของงานบ้านดังนี้
             - งานบ้านที่ต้องทำทุกสัปดาห์ เช่น การทำความสะอาดปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน เป็นต้น
             - งานบ้านที่นานๆครั้งจึงจะทำ เช่น การซ่อมแซมบ้าน การทาสีบ้านใหม่ เป็นต้น

ศึกษาขั้นตอนและวิธีการทำงานแต่ละประเภท
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกเพื่อจัดแบ่งหน้าที่และปริมาณงานให้เหมาะสมกับเพศวัย และความสามารถของแต่ละบุคคล
เตรียมวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำงานให้เหมาะสมกับประเภทของงาน โดยเลือกใช้ที่ช่วยให้ทำงานได้ง่าย ประหยัดเวลา มีความปลอดภัยในการทำงาน และช่วยอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การเลือกใช้น้ำเปล่าและกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ใช้แล้วแทนน้ำยาเช็ดกระจกที่มีราคาแพง เป็นต้น

2. การวางแผน    การกำหนดเป้าหมายของการทำงานว่าต้องการทำงานอะไร มีปริมาณงานมากน้อยเพียงใด จำนวนบุคคล หน้าที่ทำงาน และระยะเวลาที่ใช้ในการทำงาน โดยสามารถทำเป็นตารางดังนี้ตัวอย่าง ตารางกำหนดเป้าหมายในการทำงาน

3. ลงมือปฏิบัติตามเป้าหมายที่กำหนดไว้


4. ทำความสะอาดและเก็บเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานให้เรียนร้อย


5. ประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อนำไปปรับปรุงในการทำงานครั้งต่อไป 










การวางแผนการใช้ทรัพยากรภายในบ้าน

การวางแผนการใช้ทรัพยากรภายในบ้าน



       การจัดการด้านการวางแผนการทำงานและการใช้ทรัพยากรในบ้าน เป็นการบริหารจัดการเกี่ยวกับ
การปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการจัดการเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรของครอบครัวที่มีอยู่ให้คุ่มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งในการจัดการนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากสมาชิกในครอบครัวเป็นการแบ่งเบาภาระงานต่างๆตามกำลังความสามารถ ความถนัดและความพอใจของสมาชิก เช่น การประกอบอาหาร การทำความสะอาด การตัดเย็บเสื้อผ้า การทำสวนครัว ทำบัญชีรายรับรายจ่ายในบ้านซึ่งในการจัดการนั้นจะเกี่ยวข้องกับทรัพยากร ดังนี้


       1. ทรัพยากรส่วนบุคคล เป็นสิ่งที่มีประจำตัวบุคคล เช่น เวลา แรงงาน ความสนใจ ความสามารถ สติปัญญา เป็นต้น


       2. ทรัพยากรประเภทวัสดุและบริการ เป็นสิ่งของหรือบริการที่อำนวยความสะดวกให้แก่ครอบครัว เช่น เงินรายได้ครอบครัว สิ่งของเครื่องใช้ อาหาร งานบริการจากภาครัฐและเอกชน เช่นโรงเรียน การไฟฟ้า ธนาคาร การประปา เป็นต้น


       3. ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในครอบครัว เช่น ดินฟ้า อากาศ ฤดูกาล ต้นไม้ แม่น้ำ ลำคลอง เป็นต้น 




ประโยชน์ของการวางแผนการทำงาน

ประโยชน์ของการวางแผนการทำงาน



       การวางแผนก็เปรียบเสมือนสมองของคน ซึ่งถ้ามองในลักษณะนี้แล้ว การวางแผนก็มีความสำคัญไม่น้อยทีเดียว การวางแผน คือ อย่างน้อยต้องมีความคิดการเตรียมการว่าจะจัดการศึกษาเพื่ออะไร เพื่อใคร อย่างไร การวางแผนมีประโยชน์ในหลายเรื่องด้วยกัน เช่น


          1.การวางแผนเป็นเครื่องช่วยให้มีการตัดสินใจอย่างมีหลักเกณฑ์ เพราะได้มีการศึกษาสภาพเดิมในปัจจุบันแล้วกำหนดสภาพใหม่ในอนาคต ซึ่งได้แก่การตั้งวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมาย แล้วหาลู่ทางที่จะทำให้สำเร็จตามที่มุ่งหวัง นักวางแผนมีหน้าที่จัดทำรายละเอียดของงานจัดลำดับความสำคัญพร้อมทั้งข้อเสนอแนะที่ควรจะเป็นต่างๆ เพื่อให้ผู้มีหน้าที่ตัดสินใจพิจารณา

          2.การวางแผนทำให้การปฏิบัติงานต่างๆเป็นไปโดยประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพราะการวางแผนเป็นการคิดและคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าและเสนอทางเลือกที่จะก่อให้เกิดผลที่ดีที่สุด

         3.ช่วยให้ผู้ที่รับผิดชอบในงานทราบล่วงหน้าว่าจะทำงานใด เมื่อใด

         4.สามารถทำงานที่รับผิดชอบได้สำเร็จตามที่มุ่งหวัง

         5.ฝึกนิสัยให้เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ มีเหตุผลและรอบคอบ

         6.ก่อให้เกิดการประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน


         7.ฝึกให้เกิดนิสัยในการวางแผนต่อไปจะทำได้รวดเร็วและผิดพลาดน้อย 




   





















        

ปัจจัยสำหรับการวางแผนการใช้ทรัพยากร

ปัจจัยสำหรับการวางแผนการใช้ทรัพยากร



การวางแผนการใช้ทรัพยากร มีทั้งทรัพยากรด้านบุคคล  ทรัพยากรประเภทวัสดุและอุปกรณ์ และทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้มีจำกัด ปัจจัยสำหรับการวางแผนการใช้จะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้

1.เวลา ทุกคนมีเวลาเท่ากัน คือ มีเวลาเพียงวันละ 24 ชั่วโมง แต่ละคนจะใช้เวลาในการทำงานไม่เท่ากัน แม้จะเป็นงานชนิดเดียวกัน ผู้ที่จัดการกับเวลาได้ดีจึงจะใช้เวลาของแต่ละวันได้อย่างคุ้มค่า

2.เเรงงาน เกี่ยวพันกับสุขภาพ ผู้มีสุขภาพดีย่อมได้เปรียบผู้ที่มีสุขภาพไม่ดีและการที่รู้จักจัดการเรื่องแรงงานจะช่วยให้เสียเวลาในการทำงานน้อยลง

3.ความรู้ สติปัญญา เป็นสิ่งที่ได้มาจากการศึกษา อาจจะได้มาจากโรงเรียน จากชุมชน ท้องถิ่น หรือแหล่งอื่นๆ ในการวางแผนการใช้ทรัพยากรที่เป็นตัวบุคคลจะต้องคำนึงถึงภูมิความรู้ ความถนัดของแต่ละบุคคล เพื่อจะได้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.ความสามารถ เป็นทรัพยากรบุคคลที่แต่ละคนมรไม่เหมือนกันและไม่เท่ากัน ดังนั้น จะต้องพิจารณาความสามารคของแต่ละบุคคลด้วย เพราะการทำงานตรงตามความสามารถจะทำให้ทำงานนั้นได้ดี

5.ทักษะ ในการทำงานบ้านต้องใช้ทักษะกระบวนการทำงาน กระบวนการแก้ปัญหาเมื่อเกิดอุปสรรคหรือข้อผิดพลาดในการทำงาน มีการฝึกฝนทักษะจนเกิดความชำนาญ มีทักษะการจัดการที่ดี เพื่อที่จะทำให้งานบ้านประสบความสำเร็จและเป็นตามแผนที่วางไว้

6.เงินรายได้  มีความสำคัญมากกว่าทรัพยากรอื่นๆ เพื่อเป็นสิ่งที่ใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ในครอบครัวจะต้องมีการหารายได้มาเลี้ยงดูครอบครัวและบริหารวางแผนการใช้เงินเพื่อความมั่นคงของสมาชิกในครัวเรือน ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการหาเงินรายได้ ได้แก่ ความรู้ สติปัญญา ความสามารถ เวลา แรงงาน และโอกาส